Sunday, March 21, 2010
การแยกสายพันธ์ปลาหางนกยูง ( ตอนที่2)
การแบ่งสายพันธุ์ปลาหางนกยูง
สายพันธุ์กร๊าฃ ( Grass )
ลำตัวมีสีอยู่หลายสีจุดต่างที่สำคัญจะอยู่ที่ส่วนคอคอดหางที่จะไม่เป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินอย่างสายพันธุ์โมเสค และลวดลายครีบหางจะมีจุดหรือแต้มเล็กๆกระจายแผ่ไปทั่วตามแนวรัศมีของหางคล้ายดอกหญ้า ลายจะละเอียดส่วนครีบหลังจะมีขนาดใหญ่และหนา
สายพันธุ์ ครอบร้า ( Cobra )
สายพันธุ์ ครอบร้า จุดเด่นจะอยู่ที่ลวดลายจะรามตั้งแต่ตัวจนถึงปลายหางในส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในลักษณะลายเดียวกันถ้ามองดูแล้วอาจจะดูคล้ายลายหนังงู
สายพันธุ์ ทักฃิโด้ ( Tuxedo )
ในกลุ่มสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่ครึ่งตัวด้านท้ายจะมีสีดำ น้ำเงินจะเป็นในลักษณะสีเดียวตรอดตัวจดโคนหาง ส่วนในหางอาจจะมีลายได้หรือไม่มีก็ได้
สายพันธุ์ เมทเทิล ( Metal )
ลักษณะเด่นของสายพันธุ์เมทเทิลจะพบว่าตั้งแต่หัวจนถึงลำตัวท่อนบนจะมีสีคล้ายโลหะจุดเด่นจะอยู่ช่วงลำตัวเป็นหลัก
สายพันธุ์ แพลททีนั่ม ( Platinum )
ลักษณะเด่นของสายพันธุ์แพททีนั่มจะดูที่ลำตัวตั้งแต่หัวจรดครีบหางจะมีลักษณะแวววาวเป็นจุดเด่น
สายพันธุ์ ฃอร์ดเทล ( Sword tail )
ลักษณะเด่นของสายพันธุ์ฃอร์ดเทลจะมีลักษณะตามชื่อคือจะมีรูปทรงคล้ายดาบ
สายพันธุ์ ริบบรอน ( Ribbon )
สายพันธุ์นี้จะมีครีบอกยาวเรียวกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
สายพันธุ์ ฃวอลโล ( Swallow )
ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้จะอยู่ที่บริเวณปลายครีบหลัง ครีบหู ครีบก้นและครีบหางแตกออกเป็นเส้นยาว
สายพันธุ์พินกุ ( Pinku )
ลักษณะลำตัวจะมีสีชมพูตั้งแต่ส่วนกลางตัวถึงคอดหาง ครีบหางจะมีลักษณะกลม
สายพันธุ์ เผือก ( Albino )
ปลาเผือกคือปลาที่พิการเม็ดสีดำดังนั้นตัวปลาจะขาดสีดำ ปลาในกลุ่มนี้จะมีสีตัวเป็นสีขาวนอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้นปลาหางนกยูงยังมีสายพันธุ์อีกหลายชนิดแต่สายพันธุ์หลักจะมีในกลุ่มที่กล่าวมาเป็นสายหลัก
ปลาหางนกยูงปลาสวยงามที่น่าเลี้ยง

ปลาหางนกยูง
ในจำนวนปลาสวยงามปลาหางนกยูงจัดเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงง่ายและมีความสวยงามไม่แพ้ปลาชนิดอื่นเลย สำหรับหลายๆคนปลาหางนกยูงเป็นปลาตัวแรกที่ทำให้เกิดความรักในการเลี้ยงปลาแล้วค่อยพัฒนาการเลี้ยงเปลี่ยนไปเลี้ยงปลาชนิดอื่น ความสวยงามของปลาหางนกยูงอยู่ที่ความสวยงามของแพนหางปลาที่โบกสะบัด พัดไปมา ความร่าเริงว่ายน้ำไปมาอยู่ในตู้ไม่หยุดนิ่ง จึงทำให้ปลาหางนกยูงยังคงได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงปลาสวยงามตลอดมา
สายพันธ์ของปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามที่มีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายมากว่า 150 ปี จึงเกิดการปรับปรุงสายพันธ์อย่างกว่างขวาง จนเกิดเป็นสายพันธ์ต่างๆหลายร้อยสายพันธ์ แต่พอจะแบ่งสายพันธ์ของปลาหางนกยูง ได้จากลักษณะของสีและรูปแบบลวดลายของสีลำตัวและครีบหางของปลาหางนกยูง สีพื้นฐานบนลำตัวปลาจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. รูปแบบ ทักฃีโด คือจะมีสีตัวเป็นสีเดียวทั้งตัวจนถึงหางอาจจะมีสือืนบนบ้างแต่ก็จะเป็นในลักษณะจุด
2. รูปแบบ คิงครอบบร้า คือตัวปลาจะมีลวดลายคล้ายลายบนตัวงูจึงเป็นที่มาของคำว่าคิงครอบบร้า
ส่วนรูปร่างของหางก็มีส่วนในการตั้งชื่อเช่นกัน เช่น ฃอร์ดเทล (Swordtail ) หางกรรไกร( Scissors tail ) และหางพิณ (Lyre tail) และลวดลายของสีบนครีบหาง เช่น โมเสก กราฃ เรดเทล แล้วยังมีพวก เผือก (Albino ) เหลืองทอง (Gold ) และลายเสือ( tiger) และยังมี Long Fin เป็นในส่วนครีบและหางที่ยาวผิดปกติ
ปลาหางนกยูงสีสันสวยงาม


หลายๆคนมองเจ้าปลาตัวน้อยว่าเป็นปลาสวยงามธรรมดาๆ ที่สามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป แต่สำหรับคนที่รักปลาคงจะไม่มีใครปฎิเศษความน่ารักของเจ้าปลาหางนกยูงได้ลง ปลาหางนกยูงไม่ใช้ปลาประจำท้องถิ่นในประเทศไทยของเราแต่ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นตามแหล่งน้ำได้ทั่วไป เนื่องจากปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวและสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ปลาหางนกยูงมีชื่อ สามัญ ภาษาอังกฤษว่า Guppy มีที่มาจากชื่อของบาทหลวงที่ได้นำปลาหางนกยูงเข้ามาเลี้ยงในอังกฤษ และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Poecilia reticulate Peters.
โดยทั่วไปปลาหางนกยูงตัวผู้จะมีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนตัวเมียแม้สีสันจะไม่สวยเท่าแต่ก็จะมีขนาดที่โตใหญ่กว่าตัวผู้ถึง3เท่าทีเดียว ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมากถึงกับเป็น1ใน5 ปลาสวยงามยอดนิยมตลอดกาลเลยทีเดียว เมื่อประมาณปี2548 หลายคนลงทุนกับการเลี้ยงปลาหางนกยูงเกรดเอ ใช้เงินฃื้อพ่อแม่พันธุ์กันเป็น10000บาทกันเลย
ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายราคาไม่แพง และออกลูกดก หลายๆคนจึงได้เริ่มต้นเลี้ยงปลาหางนกยูงเป็นอันดับแรกเลยทีเดียว
การแบ่งสายพันธุ์ปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางเป็นเวลานานกว่า 150 ปีมาแล้ว ปลาหางนกยูงในปัจจุบันจึงมีหลายสายพันธุ์เราพอแบ่งแต่ละสายพันธุ์ได้จากสีสันและลวดลายบนลำตัวปลา รวมทั้งลักษณะสีและลวดลายของหาง โดยเราจะเรียกที่จุดเด่นหลักที่ลำตัวแล้วต่อด้วยลายและสีสันของหาง ในปลาตัวผู้เราสามารถจำแนกสายพันธุ์ได้ง่ายกว่าปลาตัวเมีย ส่วนตัวเมียนั้นต้องสังเกตเป็นแต่ละสายพันธุ์ไป
สายพันธุ์โมเสค ( Mosaic )
ในกลุ่มสายพันธุ์โมเสค จุดเด่นของสายพันธุ์นี้จะอยู่ตรงลักษณะสีและลวดลายครีบส่วนสีลำตัวนั้นจะเป็นสีอะไรก็ได้ ลักษณะครีบหางจะมีลวดลายคล้ายกับแก้วหรือเปลื่อกหอยชิ้นเล็กๆ มาร้อยเรียงกันจนกลายเป็นลวดลายคล้ายโมเสค ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งจะมีจุดสังเกตที่คอคอดหางจะมีสีฟ้าเข้มหรือโทนสีน้ำเงิน ไว้ในครั้งหน้าเราคล่อยมาต่อสายพันธุ์อื่นๆ
Saturday, March 20, 2010
สาเหตุของการเกิดตะไคร่น้ำในตู้ปลาสวยงาม
1. ช่วงตั้งตู้ใหม่ๆเป็นช่วงหนึ่งที่เกิดตะไคร่น้ำได้มากเพราะการขาดความสมดุลและขาดประสบการณ์ในการควบคุมปัจจัยต่างๆในตู้ปลาสวยงาม
2. ความเข้มของแสงและพันธุ์ไม้ที่นำมาเลี้ยงในตู้ปลาสวยงาม
3. การให้อาหารปลาสวยงามมากหรือน้อยเกินไปจะมีผลกับการเกิดตะไคร่น้ำ แร่ธาตุบางตัวถ้าให้มากเกินไปก็มีผลเร่งการเจริญเติบโตของตะไคร่
4. การขาดการดูแลเปลี่ยนถ่ายน้ำถ้าไม่ได้เปลี่ยนแล้วอาหารปลาที่เหลือเกิดการสะสมก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตะไคร่น้ำนตู้ปลาสวยงามได้
5. ขาดตัวกำจัดตะไคร่น้ำที่เหมาะสม เช่น กุ้งยามาโตะ ปลาเล็บมือนาง ปลาซัคเกอร์ ปลาสวยงามเหล่านี้จะช่วยกำจัดตะไคร่น้ำได้ดีมาก
6. ระบบแบคทีเรียล้มหรือเสียหายไปเป็นจำนวนมาก เช่น ในช่วงการล้างตู้ โดยเฉพาะถ้าเราใช้น้ำประปาล้างตู้
7. ปลาที่ตายและไม่ได้เก็บออก
8. ปริมาณปลาสวยงามมีมากเกินกว่าระบบกรอง
เก็บไรทะเลให้ปลาสวยงามกินได้นานๆๆ
วิธีเก็บรักษาไรทะเลอาหารปลาสวยงามให้อยู่ได้นานๆ
2. เอาเกลือผสมกับน้ำให้น้ำมีความสูงประมาณ 25cm น้ำควรเป็นน้ำที่ลองทิ้งไว้สัก7วันหรือเปิดปั๊มให้ตีอากาศสัก3วันเพราะในน้ำประปามีครอรีน
3. นำไรทะเลที่ได้มาล้างทำความสะอาดวิธีสังเกตว่าไรทะเลสะอาดให้ดูว่าน้ำที่ล้างแล้วไม่มีฟอง แช่ด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อ ทิ้งน้ำที่ติดมากับไรทะเลให้หมดเพราะขณะขนย้ายไรทะเลอยู่กันอย่างแออัดมันเลยขับของเสียเป็นจำนวนมาก
4. นำไรทะเลมาปล่อยในน้ำที่ผสมเกลือไว้เปิดอ๊อกวิธีนี้จะช่วยเก็บรักษาไรทะเลได้ประมาณ10วัน
แค่นี้เราก็สามารถมีอาหารสดให้แก่ปลาสวยงามของเราได้ทุกวัน วิธีนี้จะคงคุณค่าทางอาหารได้ดีกว่าการแช่ไรทะเลในตู้เย็น
ยาข้างตู้ปลาสวยงาม

มาลาไคท์กรีน (Malachitegreen) มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อราในกลุ่ม Saprolegnia ส่วนมากเราจะใช้ในการรักษาปลาที่ป่วยด้วยโรคเชื้อรา หรือใช้ในการป้องกันการติดเชื้อราบนไข่ปลา สิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะต้องเข้าใจกันก่อนเกี่ยวกับเชื้อรา คือ ปกติแล้วเชื้อราไม่สามารถที่จะทำอันตรายปลาได้ เว้นเสียแต่ว่าผิวปลามีบาดแผลติดเชื้ออยู่ก่อนแล้วเจ้าเชื้อราจึงจะแผลงฤทธิ์
ฟอร์มาลีน (Formalin) เป็นสารเคมีที่มีอำนาจฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆพวกโปรโตซัวและปรสิตภายนอก
มาลาไคท์กรีนและฟอร์มาลีนจัดเป็นสารเคมีที่นักเลี้ยงปลาสวยงามรู้จักกันดีและนิยมกันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคปลา สารเคมีทั้งสองชนิดนี้สามารถใช้ร่วมกันซึ่งจะเสริมฤทธิ์ในการรักษาโรคจุดขาวและยังออกฤทธิ์ได้ดีกับเชื้อในสกุลคอสเตียและชิโลโดเนลล่าอีกด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดเราควรดูแลปลาสวยงามให้ดีเพราะการป้องกันดูแลจะง่ายกว่าการรักษาปลาสวยงามแม้แต่บางครั้งก็อาจจะรักษาไม่หายก็เป็นได้
Thursday, March 18, 2010
การจัดวางตู้ปลาสวยงาม

ในการจัดวางตู้ปลาสวยงามสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีดังนี้
1.ขนาดของตู้ปลาสวยงาม ขนาดของตู้ต้องเหมาะกับเนื้อที่ในจุดนั้นๆ จะต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ถ้าตู้มีขนาดใหญ่มาก แรงน้ำที่กระทำกับผิวกระจกตู้ปลาก็ยิ่งสูง ดังนั้นถ้าผู้ประกอบตู้ปลาไม่มีความชำนาญพอก็จะเป็นอันตรายกับผู้ชมปลาที่ผ่านไปผ่านมาได้
2.โครงเหล็กรองรับตู้ปลาสวยงาม โครงเหล็กจะต้องมีความเสมอกันทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะตู้ที่มีขนาดใหญ่ ถ้าโครงเหล็กรองรับตู้ไม่แข็งแรงและไม่มีความเสมอกันทั้ง 4 ด้าน อันตรายก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3.แสงสว่าง แสงที่ใช้เลี้ยงปลาสวยงามก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของปลาเพราะปลาบางชนิดต้องการแสงที่มีความเข้มและความอบอุ่นที่มากกว่าแสงในตู้นีออน แสงยังมีผลต่อสีปลาถ้าปลาไม่ได้รับแสงก็อาจจะทำให้การเจริญเติบโตของปลาลดลงได้
4.ชนิดของปลาสวยงาม ชนิดของปลาก็มีส่วนในการจัดวางตู้ปลาสวยงาม เพราะนักเลี้ยงปลาสวยงามหลายท่านมีความเชื่อว่าปลาสวยงามบางชนิด เช่น ปลามังกร ปลาทอง ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลาเสือตอ ปลาเท็กซัสแดง ฯลฯ ซึ่งจะต้องวางตู้ปลาสวยงามให้ตรงกับหลักของฮวงจุ้ย เช่น ตามที่ต้อนรับลูกค้า ตามสถาบันการเงิน หรือตามที่ต่างๆที่เป็นจุดต้อนรับแขก เป็นต้น
นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในการจัดวางตู้ปลาสวยงามต้องมีความคิดทางศิลปะประกอบไปด้วย จึงจะทำให้การจัดและการวางตู้ปลาสวยงามสมบูรณ์และดูแล้วทำให้สบายตา สามารถคลายเครียดได้
Tipการเลี้ยงปลาสวยงาม

9ขั้นตอนก่อนการตัดสินใจเลือกฃื้อปลาสวยงามมาเลี้ยง
สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้ในการที่จะเริ่มเลี้ยงปลาสวยงามก็คือ ความใจเย็น ไม่ใช่ว่าเกิดความอยากเลี้ยงปลาสวยงามขึ้นมาวันหนึ่งก็ออกจากบ้านไปซื้อปลาสวยงามมาเลี้ยง ซื้อตู้ปลาเลย นอกจากนั้นเราควรที่จะคิดดูก่อนว่าเราอยากจะเลี้ยงปลาอะไร แล้วจึงตัดสินใจซื้อตู้ ไม่ใช่ซื้อตู้ปลาก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าจะฃื้อปลาอะไร สรุปออกเป็นขั้นๆเป็นคำถามที่ผู้เลี้ยงปลาสวยงามมือใหม่ควรจะถามตัวเอง ก่อนที่จะตัดสินใจไปซื้อปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยง
เลี้ยงปลาสวยงามทำไมตายง่ายจัง...วิธีแก้ปัญหาต้องอย่างง่าย

การดูแลเอาใจใส่ปลาสวยงามเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันโรคและเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับปลาได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเราจึงน่าจะมาทำความรู้จักกับวิธีง่ายๆ ในการดูแลเอาใจใส่ปลาเพื่อทำให้ปลามีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่ายอาการของปลาป่วยสังเกตได้อย่างไร
สังเกตได้ไม่ยาก คือ ความผิดปกติของตัวปลาหรือพฤติกรรมของปลาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตัวอย่างความผิดปกติที่เกี่ยวกับปลาสวยงามได้แก่ สีของปลา การกางของครีบ เมือกตามลำตัว หรือสิ่งแปลกปลอมที่พบอยู่บริเวณภายนอกตัวปลา พฤติกรรมที่ปลาแสดงออกและสังเกตได้ว่าปลามีความผิดไปจากเดิม เช่น ลักษณะการว่ายน้ำ ความก้าวร้าว การอยู่แต่ผิวน้ำหรือที่พื้นตู้ การว่ายน้ำในลักษณะที่ไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ การว่ายน้ำเป็นวง การว่ายไล่ปลาตัวอื่น การว่ายน้ำในลักษณะตั้งฉากกับผิวน้ำ หรือว่าการว่ายน้ำแบบเสียสมดุลย์ คือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งบอกเหตุและอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้ปลาป่วยในเวลาต่อมาความสำคัญของการจัดการในเรื่องคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา
การจัดการในเรื่องน้ำที่ใช้เลี้ยงเป็นวิธีการที่ต้องดำเนินการเป็นลำดับแรกเมื่อปลาเริ่มมีอาการผิดปกติ การเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นวิธีการที่ช่วยทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายด้วย
การดูดตะกอนจากเศษอาหารเหลือหรือของเสียที่ตกอยู่บริเวณพื้นตู้ ก็เป็นวิธีการที่ช่วยกำจัดของเสียและลดปริมาณเชื้อในตู้ปลา ของเสียจากอาหารที่เหลือหรือสิ่งขับถ่ายจากตัวปลาจะทำให้คุณภาพของน้ำต่ำลง การเปลี่ยนถ่ายน้ำและการดูดเศษตะกอนในตู้ปลาสวยงามเป็นการควบคุมคุณภาพของน้ำทางตรง นอกจากนี้เรายังสามารถควบคุมคุณภาพของน้ำทางอ้อมได้โดยการคุมปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาสวยงามอีกทางหนึ่งการป้องกันการเกิดโรคง่ายกว่าการรักษาโรค
ในกรณีที่ปลาป่วย การรักษาโดยการใช้ยาหรือสารเคมีคงยังมีความจำเป็นอยู่ แต่การรักษาที่โรคได้ผลนั้น จะต้องอาศัยการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องจากผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในการวินิจฉัยโรค การเลือกใช้ยาหรือสารเคมีที่เหมาะสมในการรักษา การจัดการดูแลปลาป่วยในขณะที่ทำการรักษา การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องในการรักษาโรค ทำให้การรักษาไม่หาย ในการใช้ยาไม่ถูกต้อง ได้แก่ การใช้ยาโดยไม่ทราบ สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรค หรือการรักษาไม่ตรงกับโรค ทำให้อาการป่วยของปลาไม่ดีขึ้น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส การใช้ยาในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อปลา และอาจทำให้ปลาตายได้ผลของการใช้ยาไม่ถูกต้อง
ปัญหาในการรักษาแล้วไม่หาย หรือที่เรียกกันว่าเกิดการดื้อยา ทำให้ไม่สามารถใช้ยาชนิดเดิมในการรักษาโรค ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นแทน การตกค้างของยาในตัวปลา ซึ่งในปลาสวยงามมักจะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่จะมีปัญหากับปลาที่ใช้ในการบริโภคเป็นอาหาร เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ น้ำที่มียาก็จะลงสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมมีการปนเปื้อนของยาที่ใช้ในการรักษาโรค ซึ่งยาที่ตกค้างมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมได้มีผลต่อการปนเปื้อนของยาในแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคและบริโภคได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ ยาหลายชนิดถูกพบว่าเป็นสารที่มีแนวโน้มก่อมะเร็ง สารที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ หรืออาจทำให้เกิดความผิดปกติในการพัฒนาของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อที่ดื้อยาในสัตว์น้ำสามารถถ่ายทอดการดื้อยาสู่เชื้อที่ก่อให้เกิดในมนุษย์ได้ ทำให้เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ดื้อยาแม้ว่าเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ไม่ได้สัมผัสกับยาโดยตรง
ที่มา...FANCY FISH คลังสมองของนักนิยมปลาสวยงาม ปีที่6 ฉบับที่63 ประจำเดือนมกราคม
เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาฝากกันคับ สำหรับผู้ที่นิยมปลาสวยงาม
EM ตอน 2
ผู้คิดค้น น้ำสกัดชีวะภาคคือ ศ.ดร. เทอรูโอะ ฮิกะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว ในโอกินาวา ในEM มีจุลินทรีย์ที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มสร้างกรดแลคติก แบคทีเรียสังเคราะห์แสง ยีตส์และแอคทิโนมัยฃิส
ในไทยก็ได้มีการวิจัยส่งเสริมให้เกษตรกรไทยหันมาใช้กันให้มากยิ่งขึ้น โดยจะส่งเสริมให้ทำใช้ขึ้นเองจากวัสดุที่เหลือจากในครัวเรือน สามารถหาได้ง่ายๆ
น้ำสกัดชีวะภาค ( EM )จะมีลักษณะดังนี้
1. จะมีสีออกน้ำตาลอ่อนเพราะมีส่วนผสมของกากน้ำตาลอยู่ในนั้น
2. มีความหืดเล็กน้อยเนื่องจากส่วนผสมของกากน้ำตาล
3. มีกากแขวนลอยปนมาและมีตะกอนหรืออาจจะมีฝ้าได้เนื่องจากกระบวนการหมักน้ำEM
4. อุณหภูมปกติถ้ามีความร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักยังไม่สทบูรณ์
5. มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย
การทำน้ำสกัดชีวะภาค
รวบรวมเศษวัสดุดิบในครัวเรือนเศษพืช ผลไม้ ขยะ เปรียกต่างสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
นำวัสดุที่สับแล้วนำมาผสมกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน3:1
หมักในขวดหรือถังในสภาวะไร้อากาศ เป็นเวลา 3 เดือน
เมื่อครบ 3 เดือนแล้วนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วคับ
วิธีใช้น้ำสกัดชีวะภาค EM
- ใช้เป็นปุ๋ยน้ำรดต้นไม้
- ใช้เป็นหัวเชื้อในการหมักปุ๋ยหมัก
- ใช้พ่นคอกช่วยกำจัดกลิ่นได้ดีมาก
- ใช้ใส่ห้องน้ำช่วยดับกลิ่นได้ดีแถมยังช่วยย่อยสลายทำให้ส้วมไม่เต็ม
- ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
- แก้ไขท่ออุดตัน
- กำจักกลิ่นในแหล่งน้ำ
EM กับตู้ปลาสวยงาม
วิธีทำEM ง่ายๆ
ส่วนผสม
- เศษอาหาร 1ส่วน
- ยาคูล 1ขวด
- กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือน้ำตาลทรายก็ได้
- น้ำ 1 ส่วน
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ ( ฃื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป )
- ขวดเป๊ปฃี่1.25ลิตร
นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ในขวดเป๊ปฃี่ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ในร่มประมาณ3 เดือนก็จะนำมาใช้ประโยชน์กับตู้ปลาได้แล้วคับ ส่วนถ้ามีมากก็สามารถเทดับกลิ่นในห้องน้ำหรือจะผสมกับน้ำให้สัตว์เลี้ยงกินก็จะช่วยลดกลิ่นสิ่งขับถ่ายได้ครับ
Wednesday, March 17, 2010
หนอนจิ๋วแหล่งอาหารอนุบาลลูกปลาสวยงามแรกเกิด

หนอนจิ๋ว จัดอยู่ในพวกหนอนตัวกลม ที่มีขนาดตัวเล็กมากๆ ขนาดเล็กที่สุดของหนอนจิ๋วในวัยอ่อนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ไมครอน ยาว 80 ไมครอน ตัวโตเต็มที่มีขนาดความยาว 80-140 ไมครอน (0.08-0.14 มม.) ที่สำคัญนอกจากจะมีขนาดที่เล็กแล้วหนอนจิ๋วยังมีคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกปลาวัยอ่อนสูง โดยในหนอนจิ๋วประกอบด้วยน้ำ 64-76% โปรตีน 40-45% (น้ำหนักแห้ง) และไขมัน 15-20% (น้ำหนักแห้ง) หนอนจิ๋ว 1 กรัม จะมีจำนวนประมาณ 60,000-100,000 ตัว หนอนจิ๋วยังสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานตั้งแต่ 11-56 ชั่วโมง
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงหนอนจิ๋ว
ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะหาแหล่งอาหารมากประโยชน์สำหรับลูกปลาสวยงามตัวจิ๋ว จากการทดลองการใช้หนอนจิ๋วอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน พบว่าลูกปลามีอัตราการรอดและเจริญเติบโตสูง ใกล้เคียงกับการใช้ไรแดง โรติเฟอร์ หรือ อาร์ทีเมีย แต่การได้มาของหนอนจิ๋วนั้นง่ายและใช้ต้นทุนต่ำ
ปลาตู้ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง

ปลาตู้ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง
ปลาสวยงามแต่ละชนิดจะมีลักษณะนิสัยและการกินอาหารที่แตกต่างกัน ปลาบบางชนิดมีนิสัยรักสงบ บางชนิดดุร้าย จึงควรศึกษาลักษณะนิสัยของปลาสวยงามก่อนที่จะนำมาเลี้ยง โดยหลักทั่วไปแล้วไม่ควรเลี้ยงปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวร่วมกับปลาชนิดอื่น ๆ และไม่ควรเลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่รวมกับปลาขนาดเล็ก ต่างกันมากในตู้เดียวกัน ดังนั้นการที่จะซื้อปลาแต่ละชนิดรวมไว้ในตู้เดียวกัน ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน การเลือกซื้อปลาควรเลือกปลาที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงครีบต่างๆ จะต้องอยู่ครบไม่ขาด สีสันสดใส ว่ายน้ำปราดเปรียว ไม่หลบมุม และหัวไม่เชิดลอยน้ำ ชนิดปลาที่นิยมเลี้ยงในตู้กระจกมีทั้งปลาพื้นเมืองของไทย และปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศไทย ในที่นี้จะแนะนำชนิดของปลาซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไป ดังต่อไปนี้
1 ปลาทอง